ประเภทลิขสิทธิ์ Windows 8 (วินโดวส์ 8) มีกี่ประเภท OEM หรือ OpenLicense
สำหรับ โปรแกรม Microsoft Windows เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการ (Operating Systems - OS) ที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งเราอาจจะเห็นวางขายอยู่ตามตลาดทั่วไปนั้น อย่างเช่นตัว Microsoft Windows 8 หรือที่เราเรียกกันว่า Windows 8 (วินโดวส์) เราอาจจะจำแนกจำนวน อีดิชั่น (Edition) ของมันออกมาได้ ประมาณ 6 ประเภท ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
- Windows 8 (Basic Editions)
- Windows 8 Pro (Professional)
- Windows 8 Enterprise
- Windows RT
ซึ่งแน่นอน ระดับความสามารถของ Windows 8 นั้นก็จะต้องแตกต่างกันออกไปเป็นธรรมดา รวมไปถึงราคาของมันด้วย ซึ่งถ้าเรามองจากชื่อของ Edition ของมันแล้ว นั่นก็คือ Windows 8 Enterprise นั่นเอง เพราะ ดูจากชื่อ Edition มันแล้วก็พอจะเดาจากชื่อของมันออก แล้วว่า ตัวไหนดีที่สุด และในเมื่อมันดีที่สุด ราคาก็ย่อมแพงที่สุด เป็นเงาตามตัวเช่นกัน
ซึ่งข้อมูลตรงนี้ คุณผู้อ่าน หรือลูกค้าทุกท่าน คงจะหากันไม่อยากอยู่แล้ว เนื่องจาก มีบ่งบอกตามท้องตลาดอย่างมากมาย
แต่หารู้ไม่ว่า สำหรับใน Windows แต่ละ Edition นั้น ใช่ว่าจะราคาเท่ากัน เพราะเนื่องจาก มีรูปแบบลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป ใน 3 แบบ ด้วยกัน Thaiware.com จึงขออาสามาแสดงรายละเอียด แบบละเอียดยิบ ชนิดที่เรียกได้ว่า อ่านบทความนี้จบ แล้ว เข้าใจกระจ่างกันไปเลย !
สำหรับรูปแบบลิขสิทธิ์ (License) ของเจ้าตัว Windows นั้นมีด้วยกันอยู่ด้วยกันแบบหลักๆ 3 แบบ ดังรายละเอียต่อไปนี้ ..
1. Volume Licensing (ซื้อจำนวนมาก)
รูปแบบลิขสิทธิ์ประเภทนี้ คือลูกค้า จะต้องถูกบังคับ ซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ อย่างต่ำ 5 Licenses สำหรับครั้งแรกเท่านั้น เท่ากับว่า สามารถลงได้กับ 5 เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยกัน ซึ่งดูจากจำนวนที่จะต้องซื้อดังกล่าวแล้ว ทำให้ลักษณะหรือรูปแบบของ Open License เหมาะสำหรับ องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก และ กลาง (SMEs - Small Medium Enterprises) หรือแม้แต่ องค์กรขนาดใหญ่ ไปโดยปริยาย เนื่องจากลูกค้า จะต้องซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าหากว่าคิดจะซื้อมาใช้แค่ เครื่องเดียว หรือสองเครื่อง ในบ้าน หรือที่พักอาศัย คงจะไม่คุ้มค่าเป็นแน่
โดยลิขสิทธิ์ประเภทนี้ ลูกค้าจะต้องซื้อเป็นแบบ ลักษณะของระยะเวลาที่กำหนด เช่น รูปแบบลิขสิทธิ์ แบบ 1 ปี (1-year License) เป็นต้น ซึ่งภายในระยะเวลา 1 ปี ที่อยู่ในสัญญา ลูกค้าสามารถรับสิทธิ์ในการ อัพเกรด (Upgrade) ผลิตภัณฑ์ ของ Windows ได้ รวมไปถึง สิทธิ์ในการ อัพเดท (Update) เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากหมดสัญญาสิทธิ์เหล่านี้ ก็จะหมดลงไปทันที
ส่วน License Key Information ที่เค้าให้มาก็จะให้มาเป็นตัวเลขชุดเดียวกัน เช่นซื้อมา 10 เครื่อง (10 Licenses) ก็จะได้ มาแค่ชุดเดียว แล้วนำ Authorization Number และ License Number เหล่านี้ ไปสร้าง (Generate) บนเว็บไซต์ของ Microsoft ที่เขากำหนด สำหรับการเข้า ไปสร้าง Product Key เพื่อนำไปใช้ ในแต่ละเครื่องทั้งหมด 10 เครื่องนั่นเอง
สิทธิ์ในการอัพเกรดในที่นี้เช่น สมมุติว่าท่านซื้อ รูปแบบลิขสิทธิ์ประเภท Open License อยู่โดยซื้อ Windows Vista Professional สมมุติว่าเกิดในระหว่าง 1 ปีที่ระยะเวลา ของสัญญายังไม่หมด ทาง Microsoft เกิดออก Windows 8 ออกมา ท่านจะได้รับสิทธิ์ในการอัพเกรดเวอร์ชั่น ทันที ซึ่งทาง Microsoft จะทำการส่งแผ่น อัพเกรด หรือที่เรียกกันว่า Disk Kit (อาจจะเป็นแค่แผ่นๆ เดีรยว แต่สามารถใช้ได้กับทุกเครื่อง ที่ซื้อ License ไว้) โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แบบนี้เป็นต้น
- Windows 8 (Basic Editions)
- Windows 8 Pro (Professional)
- Windows 8 Enterprise
- Windows RT
ซึ่งแน่นอน ระดับความสามารถของ Windows 8 นั้นก็จะต้องแตกต่างกันออกไปเป็นธรรมดา รวมไปถึงราคาของมันด้วย ซึ่งถ้าเรามองจากชื่อของ Edition ของมันแล้ว นั่นก็คือ Windows 8 Enterprise นั่นเอง เพราะ ดูจากชื่อ Edition มันแล้วก็พอจะเดาจากชื่อของมันออก แล้วว่า ตัวไหนดีที่สุด และในเมื่อมันดีที่สุด ราคาก็ย่อมแพงที่สุด เป็นเงาตามตัวเช่นกัน
ซึ่งข้อมูลตรงนี้ คุณผู้อ่าน หรือลูกค้าทุกท่าน คงจะหากันไม่อยากอยู่แล้ว เนื่องจาก มีบ่งบอกตามท้องตลาดอย่างมากมาย
แต่หารู้ไม่ว่า สำหรับใน Windows แต่ละ Edition นั้น ใช่ว่าจะราคาเท่ากัน เพราะเนื่องจาก มีรูปแบบลิขสิทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป ใน 3 แบบ ด้วยกัน Thaiware.com จึงขออาสามาแสดงรายละเอียด แบบละเอียดยิบ ชนิดที่เรียกได้ว่า อ่านบทความนี้จบ แล้ว เข้าใจกระจ่างกันไปเลย !
สำหรับรูปแบบลิขสิทธิ์ (License) ของเจ้าตัว Windows นั้นมีด้วยกันอยู่ด้วยกันแบบหลักๆ 3 แบบ ดังรายละเอียต่อไปนี้ ..
1. Volume Licensing (ซื้อจำนวนมาก)
รูปแบบลิขสิทธิ์ประเภทนี้ คือลูกค้า จะต้องถูกบังคับ ซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ อย่างต่ำ 5 Licenses สำหรับครั้งแรกเท่านั้น เท่ากับว่า สามารถลงได้กับ 5 เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยกัน ซึ่งดูจากจำนวนที่จะต้องซื้อดังกล่าวแล้ว ทำให้ลักษณะหรือรูปแบบของ Open License เหมาะสำหรับ องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก และ กลาง (SMEs - Small Medium Enterprises) หรือแม้แต่ องค์กรขนาดใหญ่ ไปโดยปริยาย เนื่องจากลูกค้า จะต้องซื้อเป็นจำนวนมาก ถ้าหากว่าคิดจะซื้อมาใช้แค่ เครื่องเดียว หรือสองเครื่อง ในบ้าน หรือที่พักอาศัย คงจะไม่คุ้มค่าเป็นแน่
โดยลิขสิทธิ์ประเภทนี้ ลูกค้าจะต้องซื้อเป็นแบบ ลักษณะของระยะเวลาที่กำหนด เช่น รูปแบบลิขสิทธิ์ แบบ 1 ปี (1-year License) เป็นต้น ซึ่งภายในระยะเวลา 1 ปี ที่อยู่ในสัญญา ลูกค้าสามารถรับสิทธิ์ในการ อัพเกรด (Upgrade) ผลิตภัณฑ์ ของ Windows ได้ รวมไปถึง สิทธิ์ในการ อัพเดท (Update) เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากหมดสัญญาสิทธิ์เหล่านี้ ก็จะหมดลงไปทันที
ส่วน License Key Information ที่เค้าให้มาก็จะให้มาเป็นตัวเลขชุดเดียวกัน เช่นซื้อมา 10 เครื่อง (10 Licenses) ก็จะได้ มาแค่ชุดเดียว แล้วนำ Authorization Number และ License Number เหล่านี้ ไปสร้าง (Generate) บนเว็บไซต์ของ Microsoft ที่เขากำหนด สำหรับการเข้า ไปสร้าง Product Key เพื่อนำไปใช้ ในแต่ละเครื่องทั้งหมด 10 เครื่องนั่นเอง
สิทธิ์ในการอัพเกรดในที่นี้เช่น สมมุติว่าท่านซื้อ รูปแบบลิขสิทธิ์ประเภท Open License อยู่โดยซื้อ Windows Vista Professional สมมุติว่าเกิดในระหว่าง 1 ปีที่ระยะเวลา ของสัญญายังไม่หมด ทาง Microsoft เกิดออก Windows 8 ออกมา ท่านจะได้รับสิทธิ์ในการอัพเกรดเวอร์ชั่น ทันที ซึ่งทาง Microsoft จะทำการส่งแผ่น อัพเกรด หรือที่เรียกกันว่า Disk Kit (อาจจะเป็นแค่แผ่นๆ เดีรยว แต่สามารถใช้ได้กับทุกเครื่อง ที่ซื้อ License ไว้) โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แบบนี้เป็นต้น
ซึ่งหลายท่านอาจจะได้ยินคำว่า Open License มาบ้าง ความจริงนั้น Open License เป็นแค่ส่วนหนึงของ Volume Licensing เท่านั้น เป็น Licenses ที่เหมาะกับพวก บริษัท หรือ ห้างร้าน มากกว่า ดังนั้นจริง ๆ แล้วเรื่องการซื้อแบบ Volume มีหลายแบบ มีทั้งแบบซื้อขาด (Perpetual) และ เช่าใช้ (Leasing / Subscription) แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า
Volume Licensing - Open Licenses
มีขายแบบทั้ง License แบบปกติ ถ้าอยากได้ การ Upgrade ด้วย เราจะต้องซื้อพร้อม สิ่งที่เรียกว่า Software Assurance (SA) หรือการรับประกินสินค้า ซึ่งในการรับประกันสินค้าของซอฟต์แวร์นั้น การรับประกันสินค้าคือการได้รับสิทธิ์ Upgrade นั้นเอง (และ SA มีผลแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่สามารถต่ออายุภายหลังได้) หรือ ซื้อทันทีหลังจากซื้อ Licenses ไปแล้วไม่เกิน 90 วัน (ถ้าจำไม่ผิด)
Volume Licensing - Open Values
เป็น Licenses แบบมี Software Assurance (SA) จะผูกมากับสัญญาเลย (บังคับ) จะทำให้ได้ราคาที่ลดมากกว่า Volume
Volume Licensing - Open Value Subsciptions
เป็นแบบเช่าใช้ เพิ่ม-ลดได้ตามขนาดของ องค์กร หรือ บริษัท ก็จะได้ Licenses + SA ตลอดระยะเวลาที่ทำ Subscription อยู่ แต่ Licenses จะไม่ใช่ของลูกค้า (ยกเลิกเมื่อไหร่ ต้องเลิกใช้เมื่อนั้น)
ข้อดี :)
ข้อดี :)
- สะดวกง่าย แก่การอัพเกรดเวอร์ชั่น หรือัพเดทข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่า Microsoft เขาออกเวอร์ชั่นไหน หรือ Patch หรือ Service Pack อะไรใหม่มา ไม่มีวันตกเทรน อย่างแน่นอน
- สามารถย้ายเครื่องลงได้ ไม่ยึดติดอยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องอยู่ภายในจำนวน License ที่ซื้อมา เช่น ซื้อมา 5 ก็ต้องลงเครื่องแค่ 5 เท่านั้น
ข้อเสีย :(
- ราคาค่อนข้างสูง
- ต้องซื้อเป็นจำนวนมากเท่านั้น จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ตาม บ้านทั่วๆ ไป
- มีระยะเวลาที่กำหนดแบบชัดเจน ดังนั้นหลังจากที่หมดระยะเวลาไป สิทธิ์ต่างๆ ที่เคยได้รับจะหายไป
2. OEM License (ลิขสิทธิ์)
สำหรับ OEM License หรือรูปแบบ ลิขสิทธิ์ประเภท OEM นั้น ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer รูปแบบนี้ ถ้าเทียบกับ ลิขสิทธิ์ในรูปแบบอื่นๆ นั้น แบบนี้ถือว่าราคาถูกที่สุด แต่มีข้อแม้ หรือว่าเงื่อนไข อยู่พอสมควร แต่ถ้าหากว่าผู้อ่าน อ่านไปแล้ว เห็นว่า ข้อแม้แค่นี้ เรื่องจิ๊บๆ สบายๆ รับได้อยู่แล้ว ทาง Thaiware.com ก็ขอแนะนำให้ จัดไปเลย สำหรับ OEM License นี้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันเลยดีกว่าว่า OEM License นั้น มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
1. สามารถติดตั้งได้แค่เพียง 1 เครื่อง ต่อ 1 License ที่ซื้อไป
2. เมื่อติดตั้งลงเครื่องแรกไปแล้ว จะไม่สามารถนำไปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นได้เลย แม้ว่าจะไม่ใช้เครื่องแรกนั้นอีกต่อไปแล้วก็ตาม
3. ในกรณีถ้าเกิดว่า ถ้าอยากอัพเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยคือ CPU และ ตัว เมนบอร์ด - Mainboard (Motherboard) เนื่องจากในทาง คอมพิวเตอร์ การเปลี่ยน CPU และ Mainboard ถือเป็นการ เปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นให้กลายเป็นเครื่องอื่น หรือ เครื่องใหม่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นถ้าสองสิ่งที่กล่าวมาเกิดความเสียหาย ท่านจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ใหม่ และของเก่าก็ต้องทิ้งไป สถานเดียว
4. ถ้าหากว่ามีการ เพิ่ม / เปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk), เพิ่ม / เปลี่ยน (RAM), ติดไดร์ฟ CD-ROM เพิ่มเติม แบบนี้จะสามารถทำได้ ไม่มีปัญหา ดังนั้นถ้าสองสิ่งที่กล่าวมาเกิดความเสียหาย ท่านจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ใหม่ และของเก่าก็ต้องทิ้งไป สถานเดียว
5. แผ่นที่ขาย ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวน Bits ที่ลูกค้าเลือกเอาไว้ตั้งแต่แรกเลย จะไม่สามารถมาเปลี่ยนใจกันทีหลังได้ เช่น สุมมุติลูกค้าซื้อแผ่น OEM แบบ 32 Bits (X86) มา วันนึงเกิดลูกค้าเปลี่ยนใจ หรือ เข้าใจผิดว่าเครื่องตัวเอง สามารถใช้แบบ 32 Bits ได้อย่างเดียว แต่จริงๆ สามารถใช้แบบ 64 Bits ได้ด้วยเช่นกัน แล้วเกิดอยากจะเปลี่ยนใจมาใช้แบบ 64 Bits (X64) ก็จะไม่สามารถทำได้ ต้องซื้อใหม่สถานเดียว
ข้อดี :)
- ราคาถูกที่สุดในบรรดา รูปแบบลิขสิทธิ์ ที่อยู่ทั้งหมด !
- ความสามารถทุกอย่าง เหมือนกับ รูปแบบลิขสิทธิ์ ประเภท อื่นๆ
ข้อเสีย :(
- มีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย ตามที่ได้กล่าวมาด้านบน
- มีความเสี่ยงสูงกว่าประเภทอื่นๆ เนื่องจาก CPU และ Mainboard ของท่าน จะต้องไม่เสียเลย ตลอดอายุการใช้งาน
- รูปแบบผลิตภัณฑ์ ไม่สวยงาม เทียบกับ แบบ Full Package Product (FPP)
- ไม่สามารถเปลี่ยนจำนวน Bits ได้ภายหลังได้ เช่น 32 -> 64 หรือ Bits 64 -> 32 Bits ซื้อแล้วซื้อเลย
3. FPP (Full Package Product) หรือ BOX (Windows 8 แบบกล่อง)
แบบสุดท้ายนี่ก็คือ แบบ FPP หรือตัวเต็มเรียกว่า Full Package Product แต่ว่าส่วนใหญ่ก็จะเรียกกันว่า BOX นั่นเอง ซึ่งฟังดูแล้วเข้าใจง่ายนั่นเอง
สำหรับแบบนี้ ก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก รูปแบบลักษณะของกล่อง ก็จะมีลักษณะกล่องที่สวยงาม เปิดจากด้านข้าง ตอนที่ผู้เขียนเองซื้อมา กว่าจะหาวิธีเปิดได้ก็หลาย (วิ) นาทีอยู่ หารู้ไม่ เปิดจากข้างๆ ไม่ได้เปิดจากข้างบนหรือข้างล่างแต่อย่างใด สำหรับคุณสมบัติของ รูปแบบลิขสิทธิ์ แบบ FPP นั้นก็คงจะเหมือน ประเภทอื่นๆ แต่ว่า ซื้อมาก็เท่ากับว่า 1 กล่อง ต่อ 1 License แต่แตกต่างกับ OEM คือ สามารถย้ายเครื่องไปลงที่เครื่องอื่นได้นั่นเอง
และเวลาเปิดกล่อง หรือเปิดแพคเกจ (Package) ของมันออกมาแล้ว ภายในจะมีแผ่น CD อยู่ 2 แผ่น ให้ลูกค้าเลือกลง แผ่นนึงสำหรับ คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ 32 Bits (X86) และอีกแผ่น สำหรับ เครื่อง 64 Bits (X64) นั่นเองละครับ เรียกได้ว่า เลือกลงกันได้ตามใจชอบ
ข้อดี :)
- เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เนื่องจาก สามารถลงที่เครื่องไหนก็ได้
- หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด
- สามารถ เปลี่ยน ระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน (จำนวน Bits) จาก 32 -> 64 หรือ 64 -> 32 ได้ เนื่องจากภายในกล่อง มีให้มา 2 แผ่น หรือสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จากบนเว็บไซต์
ข้อเสีย :(
- ราคาจะสูงกว่าแบบ OEM อยู่พอควร แต่ลูกค้ามั่นใจ และอุ่นใจ เพราะมีกล่องอยู่กับตัว
บทสรุป :
หลังจากที่อ่านกันมายืดยาว ผู้เขียนเองก็ไม่สามารถแนะนำได้ว่า ท่านผู้อ่านควรจะเลือกหรือใช้รูปแบบลิขสิทธิ์ (License) แบบใด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์การใช้งาน รวมไปถึงงบประมาณที่ทางลูกค้า (ผู้อ่าน) มีด้วยละครับ และสุดท้าย ขอบอกว่า ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์กันดีกว่าครับ สบายใจ เรื่องความปลอดภัย มีการช่วยเหลือหรือ Technical Support ที่ดีเวลาเกิดปัญหา ^^)
- สามารถย้ายเครื่องลงได้ ไม่ยึดติดอยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องอยู่ภายในจำนวน License ที่ซื้อมา เช่น ซื้อมา 5 ก็ต้องลงเครื่องแค่ 5 เท่านั้น
ข้อเสีย :(
- ราคาค่อนข้างสูง
- ต้องซื้อเป็นจำนวนมากเท่านั้น จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ตาม บ้านทั่วๆ ไป
- มีระยะเวลาที่กำหนดแบบชัดเจน ดังนั้นหลังจากที่หมดระยะเวลาไป สิทธิ์ต่างๆ ที่เคยได้รับจะหายไป
2. OEM License (ลิขสิทธิ์)
สำหรับ OEM License หรือรูปแบบ ลิขสิทธิ์ประเภท OEM นั้น ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer รูปแบบนี้ ถ้าเทียบกับ ลิขสิทธิ์ในรูปแบบอื่นๆ นั้น แบบนี้ถือว่าราคาถูกที่สุด แต่มีข้อแม้ หรือว่าเงื่อนไข อยู่พอสมควร แต่ถ้าหากว่าผู้อ่าน อ่านไปแล้ว เห็นว่า ข้อแม้แค่นี้ เรื่องจิ๊บๆ สบายๆ รับได้อยู่แล้ว ทาง Thaiware.com ก็ขอแนะนำให้ จัดไปเลย สำหรับ OEM License นี้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันเลยดีกว่าว่า OEM License นั้น มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
1. สามารถติดตั้งได้แค่เพียง 1 เครื่อง ต่อ 1 License ที่ซื้อไป
2. เมื่อติดตั้งลงเครื่องแรกไปแล้ว จะไม่สามารถนำไปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นได้เลย แม้ว่าจะไม่ใช้เครื่องแรกนั้นอีกต่อไปแล้วก็ตาม
3. ในกรณีถ้าเกิดว่า ถ้าอยากอัพเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยคือ CPU และ ตัว เมนบอร์ด - Mainboard (Motherboard) เนื่องจากในทาง คอมพิวเตอร์ การเปลี่ยน CPU และ Mainboard ถือเป็นการ เปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นให้กลายเป็นเครื่องอื่น หรือ เครื่องใหม่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นถ้าสองสิ่งที่กล่าวมาเกิดความเสียหาย ท่านจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ใหม่ และของเก่าก็ต้องทิ้งไป สถานเดียว
4. ถ้าหากว่ามีการ เพิ่ม / เปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk), เพิ่ม / เปลี่ยน (RAM), ติดไดร์ฟ CD-ROM เพิ่มเติม แบบนี้จะสามารถทำได้ ไม่มีปัญหา ดังนั้นถ้าสองสิ่งที่กล่าวมาเกิดความเสียหาย ท่านจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ใหม่ และของเก่าก็ต้องทิ้งไป สถานเดียว
5. แผ่นที่ขาย ก็จะขึ้นอยู่กับจำนวน Bits ที่ลูกค้าเลือกเอาไว้ตั้งแต่แรกเลย จะไม่สามารถมาเปลี่ยนใจกันทีหลังได้ เช่น สุมมุติลูกค้าซื้อแผ่น OEM แบบ 32 Bits (X86) มา วันนึงเกิดลูกค้าเปลี่ยนใจ หรือ เข้าใจผิดว่าเครื่องตัวเอง สามารถใช้แบบ 32 Bits ได้อย่างเดียว แต่จริงๆ สามารถใช้แบบ 64 Bits ได้ด้วยเช่นกัน แล้วเกิดอยากจะเปลี่ยนใจมาใช้แบบ 64 Bits (X64) ก็จะไม่สามารถทำได้ ต้องซื้อใหม่สถานเดียว
ข้อดี :)
- ราคาถูกที่สุดในบรรดา รูปแบบลิขสิทธิ์ ที่อยู่ทั้งหมด !
- ความสามารถทุกอย่าง เหมือนกับ รูปแบบลิขสิทธิ์ ประเภท อื่นๆ
ข้อเสีย :(
- มีข้อจำกัดต่างๆ มากมาย ตามที่ได้กล่าวมาด้านบน
- มีความเสี่ยงสูงกว่าประเภทอื่นๆ เนื่องจาก CPU และ Mainboard ของท่าน จะต้องไม่เสียเลย ตลอดอายุการใช้งาน
- รูปแบบผลิตภัณฑ์ ไม่สวยงาม เทียบกับ แบบ Full Package Product (FPP)
- ไม่สามารถเปลี่ยนจำนวน Bits ได้ภายหลังได้ เช่น 32 -> 64 หรือ Bits 64 -> 32 Bits ซื้อแล้วซื้อเลย
3. FPP (Full Package Product) หรือ BOX (Windows 8 แบบกล่อง)
แบบสุดท้ายนี่ก็คือ แบบ FPP หรือตัวเต็มเรียกว่า Full Package Product แต่ว่าส่วนใหญ่ก็จะเรียกกันว่า BOX นั่นเอง ซึ่งฟังดูแล้วเข้าใจง่ายนั่นเอง
สำหรับแบบนี้ ก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก รูปแบบลักษณะของกล่อง ก็จะมีลักษณะกล่องที่สวยงาม เปิดจากด้านข้าง ตอนที่ผู้เขียนเองซื้อมา กว่าจะหาวิธีเปิดได้ก็หลาย (วิ) นาทีอยู่ หารู้ไม่ เปิดจากข้างๆ ไม่ได้เปิดจากข้างบนหรือข้างล่างแต่อย่างใด สำหรับคุณสมบัติของ รูปแบบลิขสิทธิ์ แบบ FPP นั้นก็คงจะเหมือน ประเภทอื่นๆ แต่ว่า ซื้อมาก็เท่ากับว่า 1 กล่อง ต่อ 1 License แต่แตกต่างกับ OEM คือ สามารถย้ายเครื่องไปลงที่เครื่องอื่นได้นั่นเอง
และเวลาเปิดกล่อง หรือเปิดแพคเกจ (Package) ของมันออกมาแล้ว ภายในจะมีแผ่น CD อยู่ 2 แผ่น ให้ลูกค้าเลือกลง แผ่นนึงสำหรับ คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ 32 Bits (X86) และอีกแผ่น สำหรับ เครื่อง 64 Bits (X64) นั่นเองละครับ เรียกได้ว่า เลือกลงกันได้ตามใจชอบ
ข้อดี :)
- เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เนื่องจาก สามารถลงที่เครื่องไหนก็ได้
- หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด
- สามารถ เปลี่ยน ระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน (จำนวน Bits) จาก 32 -> 64 หรือ 64 -> 32 ได้ เนื่องจากภายในกล่อง มีให้มา 2 แผ่น หรือสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จากบนเว็บไซต์
ข้อเสีย :(
- ราคาจะสูงกว่าแบบ OEM อยู่พอควร แต่ลูกค้ามั่นใจ และอุ่นใจ เพราะมีกล่องอยู่กับตัว
บทสรุป :
หลังจากที่อ่านกันมายืดยาว ผู้เขียนเองก็ไม่สามารถแนะนำได้ว่า ท่านผู้อ่านควรจะเลือกหรือใช้รูปแบบลิขสิทธิ์ (License) แบบใด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์การใช้งาน รวมไปถึงงบประมาณที่ทางลูกค้า (ผู้อ่าน) มีด้วยละครับ และสุดท้าย ขอบอกว่า ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์กันดีกว่าครับ สบายใจ เรื่องความปลอดภัย มีการช่วยเหลือหรือ Technical Support ที่ดีเวลาเกิดปัญหา ^^)
บทความโดย : ธรรณพ สมประสงค์ (นิ้งโย๊ว)
Twitter : @thanop
สนับสนุนข้อมูลเพิ่มเติม : ยุทธนา หิรัญทราภรณ์
Twitter : @linexp
ประเภทลิขสิทธิ์ Windows 8 (วินโดวส์ 8) มีกี่ประเภท OEM หรือ OpenLicense